IDE 2018: เวที ‘Think Big Act Small’


เวที Think Big Act Small Symposium:

เวทีที่รวบรวมผู้นำทางความคิดด้านการประกอบการ นวัตกรรม เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และศิลปะจากทั่วทุกมุมโลก
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 12.30 – 17.00 น. โรงภาพยนต์ IMAX ชั้น 5 สยามพารากอน

ลงทะเบียนสำรองที่นั่งที่ go.eventpop.me/ideutcc
แผนที่สยามพารากอน

วิทยากร

 

Alexander Rendell

 

อเล็กซานเดอร์ เรนเดล เป็นที่รู้จักกันในฐานะนักแสดง แต่อีกด้านที่แทบไม่เคยมีใครรู้เลยคือเขาหลงรักเรื่องสิ่งแวดล้อม เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาประเทศไทย (บริษัท อีอีซี ประเทศไทย จำกัด) ซึ่งดำเนินโครงการค่ายเรียนรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกให้ผู้เข้าร่วมได้ตระหนักถึงบทบาทของนนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั่วโลกด้วยความหวังว่าจะทำให้ทุกคนได้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของธรรมชาติ

 

Chef Mai Thitiwat Tantragarn

 

 เชฟใหม่ ฐิติวัชร ตันตระการ คือหัวหน้าพ่อครัวแห่ง Insect in the Backyard ซึ่งเป็นภัตตาคารที่เสิร์ฟอาหารที่ทำจากแมลงเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เชฟใหม่ท้าทายความเชื่อด้านความงามและวัฒนธรรมโดยการสรรค์สร้างอาหารชั้นดีรสชาติเลิศด้วยส่วนผสมจากแมลงตัวน้อย ๆ เขาเชื่อว่า ด้วยความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งอาหารชั้นเลิศ แมลงจะเป็นตัวแทนของอาหารแห่งอนาคต และทุ่มเทกับการเผยแพร่วัฒนธรรมการรับประทานแมลง ชื่อของเชฟใหม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เขาเคยเป็นเชฟที่ร้านซิรอคโค เลอบัว ร้านเดซองส์ซึ่งเป็นร้านที่ได้รับมิชลินสตาร์ และร้านท็อด อิงลิชส์ โมห์แกน ในสหรัฐฯ

 

Mattie Do

Mattie Do คือผู้กำกับหญิงคนแรกและคนเดียวของสปป.ลาว พ่อแม่ของเป็นเธอผู้ลี้ภัยจากลาวในช่วงการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ปี 1975 Mattie เป็นศิษย์เก่าจาก Cannes’ Fabrique des Cinemas du Monde,  Toronto International Film Festival Talent Lab และ Bucheon International Film Festival’s Fantastic Film School ผลงานการกำกับของเธอเรื่อง “จันทะลี” (2012) และ “น้องฮัก” เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและได้รับการฉายที่เทศกาลภาพยนต์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงเป็นภาพยนต์จากสปป.ลาวเรื่องแรกที่ถูกส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขาภาพยนต์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม

 

Solveiga Pakštaitė

Solveiga Pakstaite เป็นนักประดิษฐ์และผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์จากการออกแบบอุตสาหกรรมที่เน้นการสร้างสิ่งเล็ก ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่าได้ เธอมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลางและเน้นความยั่งยืน เธอมีความหลงใหลในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความสง่า สร้างสรรค์ และงดงามที่จะคุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น Solveiga เป็นผู้ประดิษฐ์มิมิก้าทัชซึ่งเป็นเครื่องวัดระดับความเสียของอาหารทีมีความแม่นยำในทางชีวภาพที่ช่วยลดอาหารที่เหลือทิ้งและเพิ่มความปลอดภัยของอาหาร ผลงานของเธอได้รับการจดลิขสิทธิ์และได้รับรางวัลเป็นมากมาย ล่าสุดเธอได้รับตำแหน่งนักประดิษฐ์ยอดเยี่ยมแห่งปีจาก MIT Technology Review

 

Yun Phannapast Taychamaythakool

 

 

ยูน-ปัณพัท เตชเมธากุล คือนักออกแบบ ที่ปรึกษาแบรนด์แฟชั่น และอดีตครีเอทิฟไดเรกเตอร์แห่ง Kloset งานของเธอได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบตัวซึ่งเธอชอบที่จะแสดงผ่านงานในรูปพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆ เพื่อเป็นตัวแทนของพฤติกรรมมนุษย์ เป้าหมายสูงสุดของยูณคือการให้งานของเธอสามารถเข้าถึงอารมณ์และเป็นที่จดจำ ตอนนี้เธอมีผลงานมากมายกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ เช่น กุชชี่ จิมทอมสัน อิสตาแกรม และแสงโสม

 

 

Vahakn Matossian-Gehlhaar

 

Human Instruments ก่อตั้งโดยทีมงานพ่อลูกในลอนดอนซึ่งประกอบด้วย Rolf Gehlhaar นักประพันธ์เพลงและนักประดิษฐ์ กับ Vahakn Matossian-Gehlhaar นักออกแบบและนักดนตรี โดยมีเป้าหมายคือมอบโอกาสให้กับคนที่มีความพิการทางร่างกายซึ่งมีอุปสรรคที่จะได้รับการศึกษาหรือประกอบอาชีพในสายดนตรี พวกเขาออกแบบและสร้างอุปกรณ์ที่ให้เสียงเหมือนกับเครื่องดนตรีออเคสตร้าแบบดั้งเดิม Human Instruments มุ่งมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมดนตรีให้มีพลังเฉกเช่นการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกส์ โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะส่งเสริมนักดนตรีและนักประพันธ์เพลงซึ่งมีความพิการให้สามารถแสดงออกสู่เวทีโลก เขาเป็นหนึ่งใน MIT Technology Review’s Top Innovators ที่อายุไม่เกิน 35 ปี จากภูมิภาคยุโรป ปี 2017

 

Panu Sukitpaneenit 

ภาณุ สุกิจปาณีนิจ เป็นนักวิทยาศาสตร์อาวุโสเชี่ยวชาญเรื่องเยื่อหุ้มเซลส์ที่ Koch Membrane Systems, Inc ในบอสตัน งานวิจัยของภานุเน้นเรื่องการออกแบบการแยกวัสดุเยื่อหุ้มเซลส์แบบใหม่และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับน้ำสะอาด พลังงาน อาหารและเครื่องดื่มจากผลิตภัณฑ์นมที่ดีต่อสุขภาพ และการดูแลสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้ ภานุจบการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิศวกรรมเคมีจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเขาได้รับ President’s Graduate Fellowship และ World Future Foundation PhD Prize จากการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมถึง IES Prestigious Engineering Achievements Award จากสถาบันวิศวกรรมศาสตร์แห่งสิงคโปร์ เขาเป็นหนึ่งใน MIT Technology Review’s Top Innovators ที่อายุไม่เกิน 35 ปีจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคใน ปี 2015

 

Alicia Noel 

Alicia Noel เชื่อว่าทุกคนในโลกควรสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ เธออาศัยอยู่ในปักกิ่งระหว่างปี 2008 – 2014 และได้เห็นเรื่องอื้อฉาวมากมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารและผู้คนที่เจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารเหล่านี้ เธอเริ่มศึกษาและพูดในที่สาธารณะเกี่ยวกับการเกษตรที่ยั่งยืนและอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งทำให้เธอสนใจในเรื่องการตรวจสอบแหล่งที่มาของอาหารและความโปร่งใส เธอพบว่าเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งมีการบันทึกข้อมูลในทุกขั้นตอนและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อาจจะนำมาใช้กับวงการอาหารได้ Alicia ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา Cultivati Inc. เพื่อช่วยเหลือให้องค์กรต่าง ๆ ว่าเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งถูกใช้ทั่วโลกจะสามารถนำมาใช้กับอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างไร เมื่อเดินทางกลับมายังสหรัฐฯ เธอได้ปรึกษาองค์กรต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องความปลอดภัยของอาหารในจีน ตั้งแต่กระบวนการผลิต ธรรมาภิบาล และการสื่อสาร รวมถึงเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เธอเป็นโค้ชให้กับ Food-X ซึ่งเป็นโครงการเร่งรัดธุรกิจอาหาร และเป็นที่ปรึกษาและกรรมการตัดสินให้กับ Fish 2.0 ซึ่งเป็นการแข่งขันเกี่ยวกับธุรกิจอาหารทะเลเพื่อความยั่งยืน คุณจะพบเธอได้บ่อย ๆ ได้วงสนทนาเรื่องชาจีนหรืออุตสาหกรรมอวกาศ หรือไม่ก็กำลังเตรียมอาหารมื้อต่อไปของเธอ

 

PRESENTED BY

In partnership with 

 

Date

,

Time

Address